• »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle
  • »
    «
    Sea turtle

username password
Navigation:  Home >> News >> News details
• Ethernet Switch commercial and Industrial BELLCOMMS
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ หรือ Ethernet Switch
ตราสินค้า BELLCOMMS
ผู้นำเข้าค้าส่งและปลีก

อุปกรณ์กระจายสัญญาณ หรือ Ethernet switch เป็นอุปกร์ที่ใช้ในระบบ Ethernet Networks หรือระบบแลน บริษัทเป็นผู้จำหน่ายภายใต้ตราสินค้า BELLCOMMS แต่เพียงผู้เดียวภายในประเทศและเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้านี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FCC, CE และ ROHS มีจุดเด่นคือขายในราคาสินค้าที่แข่งขันในตลาดได้และราคาที่เป็นธรรม โดยการคัดสรรสินค้าที่ดีมีคุณภาพมาจำหน่าย โดยมุ่งเน้นการบริการและการรับประกันหลังการขาย

โดยบริษัทมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายดังนี้
• 100Mbps Ethernet Switch ชนิด commercial และ Industrial, ไม่มีPoE
• 1000Mbps Ethernet Switch ชนิด commercial และ Industrial มี PoE
• 10Gbps Ethernet Switch ชนิด commercialและ Industrial, ไม่มี PoE

มีคุณสมบัติพิเศษดังนี้
• มาตรฐาน FCC, CE, ROHS
• มาตรฐานอื่นๆอีกมากมายที่ทั่วโลกให้การยอมรับ
• ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015

การเลือกใช้งาน Ethernet Switch ระหว่าง Commercial Switch และ Industrial Switch มีดังนี้
Ethernet Switch มีให้เลือกตามการใช้งานอยู่สองชนิดคือ Commercial Switch ถูกออกแบบมาเพื่อทนกับสภาพอากาศแวดล้อมโดยรอบที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 0 ถึง 50 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับตัดตั้งภายในอาคารกับอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก และ Industrial Switch ถูกออกมาเพื่อให้ทนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่สูงอยู่ในช่วง -40 ถึง +75 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคารหรือกลางแสงแดดที่มีความร้อนโดยจะต้องติดตั้งอยู่ภายในตู้อุปกรณ์สื่อสารภายนอกเท่านั้น

การเลือกใช้งานตามความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ปัจจุบัน Ethernet Switch มีให้เลือกการใช้งานตามการรับส่งข้อมูลที่พอร์ตสื่อสารดังนี้
• ตามการรับส่งข้อมูลที่ 100Mbps Ethernet Switch
• ตามการรับส่งข้อมูลที่ 1000Mbps Ethernet Switch
• ตามการรับส่งข้อมูลที่10Gbps Ethernet Switch
• ตามการรับส่งข้อมูลที่ 40Gbps Ethernet Switch
• ตามการรับส่งข้อมูลที่ 100Gbps Ethernet Switch

การเลือกพอร์ตสื่อสารที่จะนำมาใช้งานในระบบ Ethernet Switch โดยจะมีพอร์ตที่เป็น Copper port ซึ่งมีหัวต่อเป็นชนิด RJ45 พอร์ตออกมาใช้งาน โดยใช้กับสายแลน หรือ Copper cable/LAN cable อ้างอิงตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.2 และ มีพอร์ตที่เป็น Fiber port ให้เลือกใช้งานอีก ซึ่งมีหัวต่อเป็นชนิดต่างๆดังนี้ เช่น ST, SC, FC, LC, MTRJ และ SFP โมดูลเป็นต้น โดยใช้กับสายใยแก้นำแสง Multimode หรือ Singlemode อ้างอิงตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.3 โดยทั้งสองดังกล่าวนั้นอยู่ในมาตรฐานของ OSI model 7 layer ในชั้นที่ 1 ที่เรียกว่า Physical layer

Copper port ทีจะต้องเลือกใช้งานมีมาตรฐานให้เลือกการใช้งานดังนี้
• มาตรฐาน IEEE 802.3i(10Base-T) การรับส่งข้อมูลที่ 10Mbps ใช้กับสาย Copper cable รุ่น Category 5,5E,6 หรือ 6A สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 100 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3u(100Base-TX) การรับส่งข้อมูลที่ 100Mbps ใช้กับสาย Copper cable รุ่น Category 5,5E,6 หรือ 6A สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 100 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ab(1000Base-T) การรับส่งข้อมูลที่ 1000Mbps ใช้กับสาย Copper cable รุ่น Category 5,5E,6 หรือ 6A สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 100 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3an(10GBase-T) การรับส่งข้อมูลที่ 10Gbps ใช้กับสาย Copper cable รุ่น Category 6 หรือ 6A สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 100 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3bq(40GBase-T) การรับส่งข้อมูลที่ 40Gbps ใช้กับสาย Copper cable รุ่น Category 8 หรือ Class I,II สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 30 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ab(40GBase-CR4) การรับส่งข้อมูลที่ 40Gbps ใช้กับสาย Twinaxial Copper cable สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 7 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ab(100GBase-CR10) การรับส่งข้อมูลที่ 100Gbps ใช้กับสาย Twinaxial Copper cable สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 7 เมตร

Fiber port ทีจะต้องเลือกใช้งานมีมาตรฐานให้เลือกการใช้งานดังนี้
• มาตรฐาน IEEE 802.3z(1000Base-SX) การรับส่งข้อมูลที่ 1Gbps ใช้กับสาย Multimode Fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 550 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3z(1000Base-LX/EX/ZX) การรับส่งข้อมูลที่ 1Gbps ใช้กับสาย Singlemode Fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง สำหรับ LX ที่ 5 กิโลเมตร, EX ที่ประมาณ 40 กิโลเมตร และ ZX ที่ประมาณ 70 กิโลเมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ae(10GBase-SR) การรับส่งข้อมูลที่ 10Gbps ใช้กับสาย OM3 Multimode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 300 เมตร และ OM4 multimode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 400 เมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ae(10GBase-LR/ER) การรับส่งข้อมูลที่ 10Gbps ใช้กับสาย Singlemode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง สำหรับ LR ที่ 10 กิโลเมตร และ ER ที่ 40 กิโลเมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ba(40GBase-SR4/LR4) การรับส่งข้อมูลที่ 40Gbps ใช้กับสาย Multimode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง สำหรับ SR4 กับสาย OM3 ที่ 100 เมตร หรือสาย OM4 ที่ 150เมตร และ LR4 กับสาย Singlemode fiber ที่ 10 กิโลเมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3ba(100GBase-SR10/LR4/ER4) การรับส่งข้อมูลที่ 100Gbps ใช้กับสาย Multimode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง สำหรับ SR10 กับสาย OM3 ที่ 100 เมตร หรือสาย OM4 ที่ 150เมตร, LR4 กับสาย Singlemode fiber ที่ 10 กิโลเมตร และ ER4 กับสาย Singlemode fiber ที่ 40 กิโลเมตร
• มาตรฐาน IEEE 802.3bm(100GBase-SR4) การรับส่งข้อมูลที่ 100Gbps ใช้กับสาย Multimode fiber สามารถใช้งานได้ไกลที่ระยะทาง 70 เมตร กับสาย และ 100 เมตร กับสาย OM4

การเลือกซื้อ Ethernet Switch นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรู้จักกับโปรโคอล และ Protocol ก็คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้จะต้องเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่าโปรโตคอลเป็นภาษาเดียวกัน จึงสื่อสารกันได้ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก ตามมาตรฐานนั้นได้แบ่งชั้นการสื่อสารออกเป็น 7 ชั้นหรือเลเยอร์ มีเชื่อเรียกว่า OSI model และโปรโตคอลก็อยู่ในลำดับชั้นของเลเยอร์ทั้งเจ็ดชั้นนี้ด้วย แต่มีโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารนั้นมากมาย สำหรับในที่นี้เราจะมาทำความรู้จักกับเลเยอร์ที่ 2 และ 3 ว่ามีโปรโตคอลอะไรบ้างและมีหน้าที่การทำงานกันอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจเที่จะเลือกซื้อ Ethernet Switch ได้ถูกต้องนั่นเอง

ระดับเลเยอร์ที่ 2 หรือ Data Link Layer ของ OSI model
มาตรฐาน IEEE 802.2(LLC และ MAC) ทำงานอยู่ในระดับเลเยอร์ 2 ของ OSI model หรือ Data Link Layer โดยมีหน้ที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล ทั้งสองนี้ยั้งมีหน้าที่สร้างเฟรมข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของการรับส่งข้อมูลโดยจะทำงานสอดประสานกัน ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ Ethernet Switch เป็นอย่างมาก และมีโปรโตคอลที่ใช้งานดังนี้

• SDLC (Synchronous data link control) เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM สำหรับใช้ในโครงสร้าง SNA (Systems Network Architecture) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้อุปกรณ์ประเภทต่างๆ ของ IBM สามารถสื่อสารกันได้ โปรโตคอลนี้อาจจะถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำการสื่อสารกับเครื่องเทอร์มินอล หรือเครื่องเวิร์กสเตชั่นหลายๆ เครื่อง และในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับแบบ point-to-point ดังนั้นจึงมีการใช้ อย่างแพร่หลายในระบบเครือข่ายแบบปิด เช่นใน WANs ที่อยู่บนพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม
• HDLC (High-level data link control) จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงด้วยการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด หรือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดพร้อมกัน รองรับการรับส่งข้อมูลแบบ Half Duplex Full Duplex และแบบบิต (Bit-Oriented) ซึ่งการรับส่งข้อมูลทั้ง 3 แบบนี้จะใช้การเชื่อมต่อแบบซิงโคนัส (Synchronous Transmission) แพร่หลายในระบบเครือข่ายแบบเปิด เช่นใน WAN คือ leased line เป็นต้น
• SLIP (Line interface protocol) SLIP เป็นโพรโทคอลสำหรับเชื่อมโยงโครงขายเน็ทเวิร์คผ่านสายสื่อสารอนุกรมหรือสายโทรศัพท์ เข้าหากัน SLIP ย่อมาจาก Serial Link IP เป็นโพรโทคอลเชื่อมโยงข้อมูล และดาต้าแกรมของ TCP/IP ผ่านสายสื่อสารอนุกรม ซึ่งการออกแบบในช่วงแรก เน้นผ่านพอร์ตสื่อสาร RS232 ผ่านโมเด็ม
• PPP (Point-to-Point Protocol) คือ โปโตคอลที่เอื้ออำนวยให้เครื่องลูกข่ายสามารถเชื่อมต่อหรือเข้าถึงระบบเครือข่ายภายใน องค์กรได้จากระยะไกล (Remote Access) ด้วยวิธีการหมุนโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up) ภายในตัวโปโตคอล PPP นั้นจะมีกลไกการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในตัวมันเอง เช่น การตรวจยืนยันตัวผู้ใช้ (User Authentication) และ การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) เป็นต้น
• LCP (Link Control Protocol) จะทำหน้าที่ตกลงรายละเอียดของการรับส่งข้อมูล, การเชื่อมต่อกับปลายทางและทดสอบรับส่งข้อมูล ซึ่ง LCP นี้จะกำหนดรายละเอียดของการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบจนเสร็จเสียก่อน จึงจะเริ่มทำการรับส่งข้อมูลกัน
• NCP (Network Control Protocol) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดชนิดของโปรโตคอลระดับสูงที่จะถูกรับส่งผ่าน PPP ซึ่งจะระบุชนิดของโปรโตคอลที่จะรับส่งผ่าน PPP ว่าเป็นโปรโตคอลชนิดใด เช่น DECNet, IPX หรือ TCP/IP
• LAP (Link Access Protocol) คือโปรโตคอลซึ่งบริษัท Apple จัดให้มีเพื่อสนับสนุนโครงสร้างสถาปตยกรรมใน Physical layer โดยโปรโตคอลนี้จะรวมการสนับสนุนสําหรับ EtherTalk, LocalTalk, TokenTalk และ FDDITalk (ระบบเครือข่ายความเร็วสูง ซึ่งมีพื้นฐานการเดินสายเคเบิลด้วยเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงและใช้วิธี token passing ในการ access)

โปรโตคอลอื่นๆที่ทำงานอยู่ในระดับเลเยอร์ 2 หรือ Data Link Layer มีดังนี้
• ARCnet Attached Resource Computer NETwork
• ARP Address Resolution Protocol
• ATM Asynchronous Transfer Mode
• CHAP Challenge Handshake Authentication Protocol
• CDP Cisco Discovery Protocol
• DCAP Data Link Switching Client Access Protocol
• Distributed Multi-Link Trunking
• Distributed Split Multi-Link Trunking
• DTP Dynamic Trunking Protocol
• Econet
• Ethernet
• FDDI Fiber Distributed Data Interface
• Frame Relay
• ITU-T G.hn
• HDLC High-Level Data Link Control
• IEEE 802.11 WiFi
• IEEE 802.16 WiMAX
• LACP Link Aggregation Control Protocol
• LattisNet
• LocalTalk
• L2F Layer 2 Forwarding Protocol
• L2TP Layer 2 Tunneling Protocol
• LLDP Link Layer Discovery Protocol
• LLDP-MED Link Layer Discovery Protocol - Media Endpoint Discovery
• MAC Media Access Control
• Q.710 Simplified Message Transfer Part
• Multi-link trunking Protocol
• NDP Neighbor Discovery Protocol
• PAgP - Cisco Systems proprietary link aggregation protocol
• PPP Point-to-Point Protocol
• PPTP Point-to-Point Tunneling Protocol
• PAP Password Authentication Protocol
• RPR IEEE 802.17 Resilient Packet Ring
• SLIP Serial Line Internet Protocol (obsolete)
• StarLAN
• Space Data Link Protocol, one of the norms for Space Data Link from the Consultative Committee for Space Data Systems
• STP Spanning Tree Protocol
• Split multi-link trunking Protocol
• Token Ring a protocol developed by IBM; the name can also be used to describe the token passing ring logical topology that it popularized.
• Virtual Extended Network (VEN) a protocol developed by iQuila.
• VTP VLAN Trunking Protocol
• VLAN Virtual Local Area Network

ระดับเลเยอร์ที่ 3 หรือ Network Layer ของ OSI model
โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง ดังนั้นฟังก์ชันนี้จึงเป็นหน้าที่ของชั้นเชื่อมโยงข้อมูล การให้บริการในเลเยอร์นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
• Connectionless Network Service: การส่งข้อมูลแบบไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนโปรโตคอลที่
ให้บริการแบบนี้เช่น CLNP (Connectionless Network Protocol) และ CLNS (Connectionless
Network Service)
• Connection-Oriented Network Service: ก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลทุกครั้ง จะมีการสร้างเส้นทาง
การเชื่อมต่อระหว่างสองสถานีก่อน ละเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จก็จะมีการยกเลิกเส้นทางการเชื่อมต่อ
ดังกล่าว โปรโตคอลที่ให้บริการแบบนี้ เช่น CONP (Connection-Oriented Network Protocol)
และ CMNS (Connection-Mode Network Service)

โปรโตคอลอื่นๆที่ทำงานอยู่ในระดับเลเยอร์ 3 หรือ Network Layer มีดังนี้
• CLNP Connectionless Networking Protocol
• IPX Internetwork Packet Exchange
• NAT Network Address Translation
• Routed-SMLT
• SCCP Signalling Connection Control Part
• AppleTalk DDP
• HSRP Hot Standby Router protocol
• VRRP Virtual Router Redundancy Protocol
• IP Internet Protocol
• IPV4
• IPV6
• ICMP Internet Control Message Protocol
• IGMP
• RARP
• ARP Address Resolution Protocol
• RIP Routing Information Protocol (v1 and v2)
• OSPF Open Shortest Path First (v1 and v2)
• IPSEC IPsec

สำหรับ Network protocols ได้แบ่งออกเป็นสามกลุ่มหลักๆมีดังนี้
1. Network management protocols เช่น SNMP, FTP, PoP3 และ Telnet เป็นต้น
2. Network communication protocols เช่น TCP, UDP, IP, HTTP, IRC, BGP และ ARP เป็นต้น
3. Network security protocols เช่น SFTP, SSL และ HTTPS เป็นต้น

ดาวน์โหลดเอกสาร
Download Switch Commercial Manage/Unmanage Layer2 Product catalog ข้อมูล ได้ที่นี่ : Click Catalog here ตรงนี้
Download Switch Commercial and Industrial PoE Manage/Unmanage Layer2 Product catalog ข้อมูล ได้ที่นี่ : Click Catalog here ตรงนี้
Download Switch Industrial Manage Layer2 PoE/Non-PoE Product catalog ข้อมูล ได้ที่นี่ : Click Catalog here ตรงนี้
Download Quick Product catalog ข้อมูล ได้ที่นี่ : Click Catalog here ตรงนี้




Product Reviews

แนะนำ NCS


Ethernet Switch 100Mbps PoE extender 250เมตร, Commercial


Ethernet Switch 1000Mbps PoE extender 250เมตร, Commercial


Ethernet Switch 1000Mbps PoE Mange L2, ICT, Commercial


Ethernet Switch 1000Mbps PoE Manage/Unmange L2, ICT, Commercial


Ethernet Switch 1000Mbps Manage L2, ICT, Commercial


8 SFP 1 25G Fiber Switch Ethernet


ติดต่อและติดตามข้อมูลข้าวสารได้ที่ด้านล่าง
Website : www.ncsnetwork.com
Line Official : @ncsnetwork
Youtube: https://www.youtube.com/@ncsnetwork1747/videos
Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100063883002843&mibextid=LQQJ4d
Tel: 02-508-0977(20 สายอัติโนมัติ)



Youtube click here

Facebook click here


 
2015-08-04
free website stats program